การปฏิรูปการศึกษา

This gallery contains 1 photo.

เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาในรอบแรกนั้นมีปัญหาอยู่หลายประการ เช่น การพัฒนาการสอนของครูไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ปรากฎต่ำกว่ามาตรฐาน เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจำนวนหนึ่งที่ไม่ผ่านการประเมินและต้องปรับปรุง อัตราการตกงานและเลิกเรียนกลางคันสูง นอกจากนี้ค่านิยมของการศึกษาไทยก็เป็นปัญหาใหญ่ในการปฏิรูปการศึกษารอบสองนี้ด้วย เป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษารอบสองคือ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นใน 3 เรื่องหลักเพิ่อนำไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ คุณภาพ – การสร้างคุณภาพใหม่ให้เกิดขึ้นในด้านต่างๆ  โอกาส – การเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มได้เข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต  การมีส่วนร่วม – มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และเพื่อให้เดินหน้าสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติจริง จึงได้มีการตั้งกรรมการขึ้นมาใน 2 ระดับ คือ กรรมการระดับนโยบายปฏิรูปการศึกษา และกรรมการระดับขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งกลไกอื่นๆอีก เช่น การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ การจัดตั้งโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นต้น โดยจะได้มีการนำเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าโอกาสและความเป็นไปได้ของนโยบายการพัฒนาการศึกษานี้น่าจะยังพอเป็นจริงได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคฝ่าย โดยต้องมีการวางแผนงานที่ดี นึกถึงส่วนรวมเป็นหลัก http://www.wearehappy.in.th/happy-society/education-reform http://www.moe-news.net/index.php?option=com_content&task=view&id=1112&Itemid=0&preview=popup http://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/15543-7442.pdf

Educational Innovation

This gallery contains 1 photo.

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) ในที่นี้คำว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” จะประกอบด้วย 2 คำคือ คำว่า “ นวัตกรรม ” และคำว่า “ การศึกษา ” คำว่า “ นวัตกรรม ” ตามความหมายที่สรุปไว้แล้วนั้น หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดียิ่งขึ้น ส่วนคำว่า “ การศึกษา ” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สรุปความแล้ว “ นวัตกรรมการศึกษา ” หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ … Continue reading

Critical Friends

This gallery contains 2 photos.

The Reflection of “Critical Friends” Why ? The Critical Friends Group’s process acknowledges the complexity of teaching and provides structures for teacher to improve their teaching by giving and receiving feedback (page 1, Bambino).  Moreover, Critical Friends Group’s is also help all collaborators and the methods of works go along together effectively and in the … Continue reading