Educational Innovation

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)

ในที่นี้คำว่า นวัตกรรมการศึกษา จะประกอบด้วย 2
คำคือ คำว่า นวัตกรรม และคำว่า การศึกษา

คำว่า นวัตกรรม
ตามความหมายที่สรุปไว้แล้วนั้น หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่
หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม
แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

ส่วนคำว่า การศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้
การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม
การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

สรุปความแล้วนวัตกรรมการศึกษา
หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้
หรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม
วิธีการเดิมหรือสิ่งเดิมที่ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล
และสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

หลักเกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม

นวัตกรรมเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่หรือพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มเติมจากสิ่งเดิมแล้วนำมาทดลองจนมีประสิทธิภาพที่น่าเชื่อถือ
และนำไปใช้ในสภาพงานที่จริงในที่สุด แต่เมื่อใช้นวัตกรรมจนเป็นที่แพร่หลายและยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของงานแล้ว
ก็จะ ถือได้ว่านวัตกรรมนั้นได้ปรับเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี
แต่ก็ยังมีความไม่แน่ใจอยู่อีกว่า ถ้าเทคโนโลยีสภาพแวดล้อมหนึ่ง
ซึ่งใช้เป็นที่แพร่หลายแล้ว แต่ในอีกสภาพแวดล้อมหนึ่งยังถือว่าเป็นสิ่งใหม่
เพราะยังไม่เคยนำไปปฏิบัติ
จะถือว่าเป็นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมดังนั้นจึงมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรมพอสรุปได้ดังนี้

1. เป็นแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน

2. เป็นแนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิม จากที่อื่น แล้วนำมาใช่กับสภาพการณ์ใหม่

3. เป็นแนวคิดเดิม วิธีเดิม หรือสิ่งเดิม ที่ถูกพัฒนาปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วใช้ในสภาพการณ์เดิม
หรือนำไปใช้สภาพการณ์ใหม่

4. เป็นแนวคิด วิธีการ
หรือสิ่งที่ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
ถ้าใช้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันจะไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
แต่เปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี

5. เป็นแนวคิด วิธีการ หรือสิ่งที่อยู่ในระหว่างการวิจัย
หรือพิสูจน์ด้วยการวิจัยแล้วว่าช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ถึงแม้ว่านวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ
และใช้เป็นที่แพร่หลายในสภาพแวดล้อม และสังคมหนึ่งแล้วนั้น
มิได้หมายความว่าจะใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมและสังคมอื่นเสมอไป
เนื่องจากในแต่ละสภาพแวดล้อม และสังคมจะมีความแตกต่างกัน เช่น วัฒนธรรม บุคลากร
สถานที่ บรรยากาศ เป็นต้น ดังนั้นในการนำนวัตกรรมจากสภาพแวดล้อม
และสิ่งอื่นมาใช่ก็ควรที่จะต้องทดลองใช้กับสภาพแวดล้อและสังคมใหม่เพื่อรับประกันว่าในสภาพแวดล้อม
และสังคมใหม่นี้นวัตกรรมที่นำมาใช้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงกว่าจริง หรือมีการวิจัยที่ยืนยันว่านวัตกรรมที่นำมาใช้นี้สามารถนำไปใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมและสังคมที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือเหมือนกันนี้

ลักษณะของนวัตกรรม

1. นำเอาวิธีเก่าจากที่อื่นมาทดลองใช้

2. ดัดแปลง ปรับปรุงของเก่าให้เหมาะกับสถานการณ์

3. ฟื้นฟูสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อน

4. การคิดสิ่งใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับเทคโนโลยี

นวัตกรรมกับเทคโนโลยี
จะเห็นได้ว่าคำสองคำนี้มักจะเขียนควบคู่กันในภาษาอังกฤษบางครั้งจะใช้คำย่อว่า
INNOTECH ซึ่งย่อมาจาก Innovation and Technology เนื่องจากนวัตกรรมเมื่อนำมาใช้งานและยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน
หรืออยู่ในช่วงการทดลอง พัฒนา ปรับปรุง จะยังเป็นนวัตกรรม
แต่เมื่อไหร่ก็ตามได้นำไปใช้จนเป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน
นวัตกรรมก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีหรืออีกนัยหนึ่งถ้ามองทางด้านเทคโนโลยี
เทคโนโลยีจะเป็นการมุ่งเอาสิ่งต่าง ๆ
รวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ก็น่าจะเป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง

ในทางกลับกันเมื่อเทคโนโลยีได้มีการใช้ไปนาน
ๆ ก็จะเป็นแนวคิดเดิม วิธีเดิม หรือ สิ่งเดิม หรือนำไปใช้ในสภาพการณ์ใหม่
จำเป็นต้องพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
เพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แล้วนำไปใช้
เทคโนโลยีก็จะกลายเป็นนวัตกรรม และเมื่อนวัตกรรม ถูกใช้เป็นส่วน
หนึ่งของระบบงานและเป็นที่แพร่หลายก็กลายเป็นเทคโนโลยีหมุนเวียนสลับกันไปเช่นนี้

นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย

จะเห็นได้ว่านวัตกรรมนั้นจะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการพิจารณาซึ่งนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมหนึ่ง
อาจจะเป็นเทคโนโลยีในอีกสภาพแวดล้อมหนึ่งไปแล้ว อย่างเช่น
การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสหรัฐอเมริกาจะเป็นเทคโนโลยีไปแล้ว
แต่ในประเทศไทยอาจจะเป็นนวัตกรรมอยู่ แต่ถ้ามองให้แคบลงในคณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจจะถือว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นเทคโนโลยีไปแล้ว
ดังนั้นการที่จะกล่าวลงไปว่าอะไรเป็นนวัตกรรมอะไรเป็นเทคโนโลยีก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเอากรอบอะไรมาเป็นตัวจับ
กรอบนั้นมีขอบเขตกว้างหรือแคบแค่ไหน ในที่นี้จะขอใช้กรอบในประเทศไทย
โดยรวมเป็นหลักไม่เฉพาะเจาะจงไปในมหาวิทยาลัยใด หรือกระทรวง กรม กอง
สถาบันการศึกษาเป็นหลัก โดยจะแบ่งนวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทยออกเป็นหมวดหมู่
3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ นวัตกรรมวิธีการหรือกระบวนการ (Technique
of Process) นวัตกรรมที่ประสมวิธีการหรือกระบวนการและการผลผลิต
(Process and Product) และคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการศึกษา (Computer-Based
Education) ซึ่งแยกออกมาจากนวัตกรรมที่ประสมวิธีการหรือกระบวนการ
และ ผลผลิต เนื่องจากเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีบทบาทมากในปัจจุบันและแนวโน้มคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน
ส่วนนวัตกรรมที่เป็นผลผลิตอย่างเดียวได้นำไปกล่าวไว้ในเทคโนโลยีประเภทอุปกรณ์แล้ว

http://www.learners.in.th/blog/22631/235365

Leave a comment